เราคือผู้ผลิตปูนซีเมนต์มาอย่างยาวนานและจะพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อสิ่งก่อสร้างที่ดียิ่งขึ้นและเรายังคงสนับสนุนให้ในเรื่องของความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนในชุมชนและจะมีส่วนช่วยในเรื่องของการแพทย์
เทคนิคเกี่ยวกับการปั๊มซีเมนต์ให้ไปอยู่หลังท่อกรุ
จริงแล้วก่อนที่จะเข้าใจถึงเทคนิคการปั๊มซีเมนต์ให้ไปอยู่หลังท่อกรุต้องเข้าใจถึงเรื่องของการคำนวณปริมาตรซีเมนต์หลุมน้ำมันกันเสียก่อนเพื่อที่ว่าจะได้เข้าใจเรื่องของการคำนวณ และความสูงของตัวซีเมนต์ที่ยึดท่อกรุกับชั้นหินอย่างไร ความผิดพลาดระหว่างการคำนวณและการเอาไปใช้จริงมีตรงไหนบ้างจะได้เข้าใจได้ตรงกัน หากถามว่าเมื่อทำจริงๆ แล้วจะตรงกับที่คำนวณหรือไม่จริงๆ มันก็เป็นเรื่องยากที่จะตอบเนื่องจากว่ามันมีปัจจัยหลายๆ ด้านที่จะทำให้ไม่เกิดความพอดีกันแต่ก็ไม่ถึงกับว่าทำไม่ได้เสียทีเดียว หากสามารถทำความเข้าใจได้แล้วก็มาลองดูเทคนิคการปั๊มซีเมนต์ให้ไปอยู่หลังท่อกรุว่าต้องทำอย่างไรบ้าง
เทคนิคการปั๊มซีเมนต์ให้ไปอยู่หลังท่อกรุ
ปกติแล้วเทคนิคดังกล่าวนี้จะมีอยู่ด้วยกัน 2 เทคนิค ประกอบไปด้วย
- ให้ปั๊มจากข้างในท่อกรุให้ไปข้างนอกท่อกรุได้เลย ตอนปั๊มซีเมนต์ให้เอาลูกยางที่เรียกกันว่า cement plug หย่อนเข้าไปแล้วปั๊มของเหลวอีกชนิดอาจเป็นน้ำ, โคลน น้ำเกลือ อะไรก็ได้ โดยปั๊มน้ำดังกล่าวพวกนี้ให้ไล่ดูดซีเมนต์โดยโดยมี cement plug กั้นเพื่อไม่ให้น้ำที่เราเติมปนไปกับตัวซีเมนต์ พอตัว cement plug โดนปั๊มลงไปด้านล่างจุดสุดปลายท่อกรุที่บริเวณก้นหลุม ซีเมนต์ก็จะโดนไล่ให้ไปอยู่ตรงช่องระหว่างท่อกรุกับผนังหลุมตามที่ต้องการ ความสูงของซีเมนต์ก็จะได้ตามที่คำนวณเอาไว้ เท่านี้ก็เสร็จเรียบร้อย ส่วนใหญ่วิธีการนี้มักใช้เฉพาะท่อกรุมีขนาดเล็ก ส่วนใหญ่ต่ำกว่า 5/8” เนื่องจากความแม่นยำในการคำนวณสูงกว่า ปริมาตรไม่เยอะทั้งจากในท่อและช่องว่าง ระหว่างท่อกรุกับผนังหลุมแทบไม่มีความต่าง ถ้าพลาดความสูงของซีเมนต์จะไม่ต่างจากตอนคำนวณมากนัก อีกอย่างที่ต้องระวังคือทั้งท่อกรุต้องทนแรงดันให้ได้ เริ่มจากปากหลุม ทั้งยวงท่อกรุจะเป็น pressure vessel คือรับความดันกันทั้งหมด
- ให้เอาท่อขนาดเล็กสอดลงไปตรงปากหลุมไล่ไปจนถึงปลายท่อกรุ จะมีกลไกที่ง่ายเรียกว่า cement retainer อยู่ตรงก้นบริเวณปลายท่อกรุ เอาท่อขนาดเล็กเสียบลงไปแล้วทำการปั๊มซีเมนต์พร้อมกับน้ำไล่ให้ลงไปจากนั้นก็ทำตามเหมือนกับวิธีการแรกเป็นอันเสร็จเรียบร้อย สำหรับวิธีการที่สองนี้จะเหมาะกับท่อกรุที่มีขนาดใหญ่เนื่องจากว่าไม่ต้องรับความดันทั้งหมด มีการเอาท่อใหญ่แต่มาทำแบบท่อเล็กจะทำให้รับความดันไม่ไหว ซึ่งทั้งสองวิธีการนี้ก็จะได้ผลลัพธ์แบบเดียวกันแต่ต่างกันแค่ขนาดท่อเท่านั้น